Futuristic Music contest SS5
Futuristic Music Contest Online: My World of Sound (โลกแห่งเสียงของฉัน)
เลือกเฟ้นว่าที่นักดนตรีและนักทำเพลงระดับมืออาชีพ ในหัวข้อ “My World of Sound (โลกแห่งเสียงของฉัน)” น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า 90% ของชีวิตมนุษย์ถูกกำหนดโดยเสียง!!! เสียงจึงมีความสำคัญมากต่อการใช้ชีวิตของเรา ด้วยเหตุนี้กรรมการอะคูสติกระหว่างประเทศ (The International Commissions of Acoustics) จึงจัดตั้ง “ปีแห่งเสียงสากล” ขึ้น เพื่อให้เยาวชนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของเสียงที่มีต่อโลกและสังคมที่เราอยู่ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมชิงทุนการศึกษาระดับสากลโดยเปิดให้น้อง ๆ เยาวชนอายุ 13-18 ปี ทั่วโลกผลิตผลงานเพลงเพื่อเล่าถึงความสำคัญของเสียงในสังคม (ไทย) ผ่านจินตนาการสร้างสรรค์บทเพลงที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของเราความยาวไม่เกิน 1 นาที วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีตมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนของประเทศไทยคัดเลือกน้อง ๆ ที่มีความสามารถในการทำเพลง 3 ทีม เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับสากล นอกจากนี้ยังมีการเปิด Workshop Online เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางเทคโนโลยีดนตรี การแต่งทำนองและเนื้อเพลง เพื่อให้น้อง ๆ ได้เตรียมความพร้อมในการแข่งขันในครั้งนี้อีกด้วย
กติกาการรับสมัคร
1. จำกัดอายุเยาวชนตั้งแต่ 13-18 ปี มีสิทธิ์สมัครเข้าแข่งขัน
2. โจทย์เพลงที่เข้าประกวด มี 2 โจทย์ คือ
2.1 โจทย์เพลง Free style ตามที่ตนเองถนัด (จะเป็นเพลงแต่งเอง, cover หรือ rearrange ก็ได้) ความยาวไม่เกิน 5 นาที
2.2 โจทย์เพลง The Sound of The World ซึ่งจะให้เล่าถึงความสำคัญของเสียงในสังคมและของโลกตามความเข้าใจของน้อง ๆ โดยมีกติกา ดังนี้
2.2.1 ให้ น้อง ๆ แต่งเนื้อเพลง 4 บรรทัดในภาษาภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษแล้วบันทึกลงไฟล์โดยใช้ทำนองของเพลง “The Sound Of The World” ตามสโลแกน “ความสำคัญของเสียงสำหรับสังคมและโลก” ซึ่งมี Melody และ Sheet เพลงให้ดาวน์โหลดใน website : International Year of Sound (sound2020.org) หรือไฟล์ด้านล่างนี้
2.2.2 เพลงที่แต่งมีความยาว 3-5 นาที ที่สามารถถูกตัดให้เป็น version ที่มีความยาวไม่เกิน 1 นาที ซึ่งจะเป็นไฟล์ mp4, avi, mkv, flv, mov, mpg หรือ wmv ก็ได้และให้ส่งมาทั้ง 2 version
( ปล.**ในตัวอย่างจะมีเนื้อเพลงที่เว้นเอาไว้ ในท่อน Verse B นักเรียนสามารถที่จะ
1.แต่งเองทั้งหมดโดยต้องมีคำว่า The Sound of The World ตามตัวอย่างใน Verse B โดยส่งเวอร์ชั่นเต็ม และเวอร์ชั่นที่ตัดในท่อน Verse B ไม่เกิน 1 นาที
2.แต่งใหม่เฉพาะท่อน Verse B ต้องมีคำว่าThe Sound of The World ตามตัวอย่างใน Verse B และส่งเวอร์ชั่นเต็ม และเวอร์ชั่นที่ตัดในท่อน Verse B ไม่เกิน 1 นาที
**แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564 )
2.2.3 ผู้สมัครกรอกแบบฟอร์มใบสมัครตามที่กำหนด พร้อมทั้งคำบรรยายเนื้อหาและอารมณ์ของเพลงไม่เกิน 50 คำ
2.2.4 น้อง ๆ สามารถเลือกเครื่องดนตรีประเภทไหนก็ได้หรือทำเป็นคอรัสก็ได้ (ซึ่งทางผู้จัดแนะนำให้ใช้ดนตรีพื้นถิ่นด้วยก็จะดีมาก)
2.2.5 เงินรางวัล (ไม่รวมกับรางวัล Futuristic Music Contest) รางวัลที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัลจะได้บัตรกำนัลสำหรับการซื้อหนังสือ วัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการศึกษาโดยรางวัลจะถูกตัดสินจากกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือคณะกรรมการอะคูสติกระหว่างประเทศ
ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 300 € (ประมาณ 10,948.91 บาท)
ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 2 จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 200 € (ประมาณ 7,299.27 บาท)
ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 3 จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 100 € (ประมาณ 3,649.64 บาท)
2.2.6 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะและได้รางวัลในการประกวด Futuristic Music Contest
3. การประกวดจะเป็นการประกวดการทำดนตรีแบบครบวงจร ตั้งแต่การเล่นดนตรี การเรียบเรียงดนตรี การบันทึกเสียง การผสมเสียงและการถ่ายทำภาพวิดีโอตัดต่อโดยคุณภาพของเสียงในแต่ละส่วนจะนำมาใช้ในการตัดสินให้คะแนน
4. ประเภทเครื่องดนตรีที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล หรือใช้วัตถุสิ่งของมาเป็นเครื่องประกอบจังหวะหรือเป็นการร้องประสานเสียงก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์
5.การตัดสินจะตัดสินโดยคณะกรรมการที่มีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเพลงของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ประกอบด้วย อาจารย์ติ๊ด โสฬส ปุณกะบุตร นักแต่งเพลงและ Producer มืออาชีพที่ทำเพลงฮิตติดหูเป็นจำนวนมากให้กับ GMM Grammy และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน
6. หมดเขตรับสมัครวันที่ 3 พฤษภาคม 2564
7. ประกาศชื่อผู้เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายของแต่ละประเภทผ่าน Facebook ของวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสมในวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 โดยจะให้คะแนน Popular vote จากยอดที่กดไลค์ (หากพบว่าทุจริต โดยการจ้างวานเพิ่มยอดไลค์ จะตัดสิทธิ์ทันที)
8. การรวมคะแนนจะนับคะแนน Popular vote 20% และคะแนนจากคณะกรรมการ 80%
คะแนนจากกรรมการ 80% มีหัวข้อดังนี้
8.1 ความสามารถเฉพาะตัวโดยรวม
8.2 คะแนนความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
8.3 คุณภาพการเรียบเรียงเสียงประสานและการบันทึกเสียง (Compose Recording)
8.4 คุณภาพการประสมเสียง (Mixing and Mastering)
8.5 การตัดต่อและบันทึกภาพ ( Video production)
9. ประกาศผลการแข่งขันผ่าน Facebook live วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 หลังจบการแข่งขันวงดนตรีที่เข้ารอบสุดท้ายจะได้รับคอมเมนต์จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวันที่ 30 พฤษภาคม 2564
การประกวดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้คือ
ประเภทที่ 1
ประเภทวงดนตรี มีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีกติกา ดังนี้
1. ให้สมาชิกวงดนตรีแต่ละคนบันทึกภาพและเสียงการเล่นดนตรีของตนเอง (เสียงและภาพการเล่นดนตรีต้องตรงกันเพื่อการันตีว่าตนเองเป็นผู้เล่นดนตรี)
2. นำเสียงที่บันทึกได้มา Mix รวมกันและปรับแต่งให้มีคุณภาพ (Mixing and Mastering)
3. ตัดต่อวิดีโอคลิป ประกอบด้วยภาพและเสียง
4. Upload คลิปลง Google Drive ตั้งชื่อไฟล์ด้วยชื่อวงพร้อมประเภทที่ลงสมัครแล้วแชร์มาที่ imse.contest@gmail.com
4.1 คลิปโจทย์เพลง Freestyle ความยาวไม่เกิน 5 นาที
4.2 คลิปโจทย์เพลง Sound of the world มีความยาว 3-5 นาที ที่สามารถถูกตัดให้เป็น version ที่มีความยาว ไม่เกิน 1 นาที และไฟล์ที่ส่งต้องไม่เกิน 5 MB ซึ่งจะเป็นไฟล์ mp4, avi, mkv, flv, mov,mpg หรือ wmv และให้ส่งมาทั้ง 2 version
5. การอัดคลิปและการ Mix ต้องทำที่บ้านของนักดนตรีแต่ละคนเท่านั้น ห้ามรวมตัวกัน (รวมตัวกันได้แต่ต้องเว้นระยะห่าง Social Distancing ตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด ***แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564)
6. ส่งชื่อสมาชิกในวง ชื่อวงดนตรี เบอร์ติดต่อพร้อมบัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียนเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการเข้าประกวด และสำเนาบัตรนักเรียนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ตามแบบฟอร์มใบสมัครที่กำหนด
ประเภททื่2
ประเภทศิลปินเดี่ยว
1 .ให้ผู้สมัครบันทึกภาพและเสียงการเล่นดนตรีและร้องของตนเอง (เสียงและภาพการเล่นดนตรีต้องตรงกันเพื่อการันตีว่าตนเองเป็นผู้เล่นดนตรี) สามารถบันทึกการเล่นและร้องไปพร้อมกันหรือแยกส่วนกันก็ได้
2. นำเสียงที่บันทึกได้มา Mix รวมกันและปรับแต่งให้มีคุณภาพ (Mixing and Mastering)
3. ตัดต่อเป็นวิดีโอคลิปประกอบด้วยภาพและเสียง
4. Upload คลิปลง Google Drive ตั้งชื่อไฟล์ด้วยชื่อตนเองพร้อมประเภทที่ลงสมัครแล้วแชร์มาที่ imse.contest@gmail.com
4.1 คลิปโจทย์เพลง Freestyle ความยาวไม่เกิน 5 นาที
4.2 คลิปโจทย์เพลง Sound of the world มีความยาว 3-5 นาที ที่ถูกตัดให้เป็น version ที่มีความยาวไม่เกิน 1 นาที และไฟล์ที่ส่งต้องไม่เกิน 5 MB ซึ่งจะเป็นไฟล์ mp4, avi, mkv, flv, mov, mpg หรือ wmv ก็ได้ และให้ส่งมาทั้ง 2 version
5. การอัดคลิปภาพและการบันทึกเสียงทำจากมือถือหรือจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านเท่านั้น!!
6. ส่งชื่อสมาชิกในวง ชื่อวงดนตรี เบอร์ติดต่อพร้อมบัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียนเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการเข้าประกวด และสำเนาบัตรนักเรียนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ตามแบบฟอร์มใบสมัครที่กำหนด
เงินรางวัล
ประเภทวงดนตรี
1.รางวัลชนะเลิศจำนวน 40,000 บาท
2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 20,000 บาท
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 10,000 บาท
ประเภทศิลปินเดี่ยว
1. รางวัลการแสดงดนตรียอดเยี่ยม 20,000 บาท
2. รางวัลการใช้เทคโนโลยีดนตรียอดเยี่ยม 20,000 บาท
รางวัลพิเศษ
1. รางวัลพิเศษ Outstanding ใครดูคลิปนี้แล้วต้องว้าว! (ประเภทเดี่ยวหรือประเภทวงก็ได้) 20,000 บาท
ตารางการถ่ายทอด Workshop Online
25 มีนาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. การแต่งทำนองเพลง บันทึกเสียง Mix และ Mastering โดยอาจารย์ติ๊ด โสฬส ปุณกะบุตร
26 มีนาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น.
แต่งเนื้อร้อง โดยศิลปิน, นักร้อง, นักแต่งเพลง ( คุณพีท พีราวัชร์ อัศววชิรวิท หรือคุณพีท พีชเมกเกอร์)
27 มีนาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น.
Video production แนวคิดการสร้างภาพจากเพลง การบันทึกภาพและการตัดต่อภาพ
( โดยคุณวศิน ปกป้อง ผู้กำกับภาพยนต์เรื่อง สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก )
ผู้ใดที่พลาดการชมสดสามารถชมเทปบันทึกได้ผ่าน Facebook ของวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม ผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้ร่วมงานกับวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีตรวมถึงสนับสนุนการทำเพลงเป็นของตัวเองถ้างานเพลงมีคุณภาพเหมาะสมตามการพิจาณาของวิทยาลัย ทั้งนี้รายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแต่สถานการณ์ที่สมควร
****ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอเป็นสปอนเซอร์ได้ที่ imse.contest@gmail.com **** โทร : 02-329-8197