Futuristic Music contest SS5

 

Futuristic Music Contest Online: My World of Sound (โลกแห่งเสียงของฉัน)

                 เลือกเฟ้นว่าที่นักดนตรีและนักทำเพลงระดับมืออาชีพ  ในหัวข้อ “My World of Sound (โลกแห่งเสียงของฉัน)” น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า 90% ของชีวิตมนุษย์ถูกกำหนดโดยเสียง!!! เสียงจึงมีความสำคัญมากต่อการใช้ชีวิตของเรา ด้วยเหตุนี้กรรมการอะคูสติกระหว่างประเทศ (The International Commissions of Acoustics) จึงจัดตั้ง “ปีแห่งเสียงสากล” ขึ้น เพื่อให้เยาวชนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของเสียงที่มีต่อโลกและสังคมที่เราอยู่ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมชิงทุนการศึกษาระดับสากลโดยเปิดให้น้อง ๆ เยาวชนอายุ 13-18 ปี ทั่วโลกผลิตผลงานเพลงเพื่อเล่าถึงความสำคัญของเสียงในสังคม (ไทย) ผ่านจินตนาการสร้างสรรค์บทเพลงที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของเราความยาวไม่เกิน 1 นาที วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีตมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนของประเทศไทยคัดเลือกน้อง ๆ ที่มีความสามารถในการทำเพลง 3 ทีม เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับสากล นอกจากนี้ยังมีการเปิด Workshop Online เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางเทคโนโลยีดนตรี การแต่งทำนองและเนื้อเพลง เพื่อให้น้อง ๆ ได้เตรียมความพร้อมในการแข่งขันในครั้งนี้อีกด้วย

กติกาการรับสมัคร

1. จำกัดอายุเยาวชนตั้งแต่ 13-18 ปี มีสิทธิ์สมัครเข้าแข่งขัน

2. โจทย์เพลงที่เข้าประกวด มี 2 โจทย์ คือ

2.1 โจทย์เพลง Free style ตามที่ตนเองถนัด (จะเป็นเพลงแต่งเอง, cover หรือ rearrange ก็ได้) ความยาวไม่เกิน 5 นาที

2.2 โจทย์เพลง The Sound of The World ซึ่งจะให้เล่าถึงความสำคัญของเสียงในสังคมและของโลกตามความเข้าใจของน้อง ๆ โดยมีกติกา ดังนี้

       2.2.1 ให้ น้อง ๆ แต่งเนื้อเพลง 4 บรรทัดในภาษาภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษแล้วบันทึกลงไฟล์โดยใช้ทำนองของเพลง “The Sound Of The World” ตามสโลแกน “ความสำคัญของเสียงสำหรับสังคมและโลก” ซึ่งมี Melody และ Sheet เพลงให้ดาวน์โหลดใน  website : International Year of Sound (sound2020.org) หรือไฟล์ด้านล่างนี้
      2.2.2 เพลงที่แต่งมีความยาว 3-5 นาที ที่สามารถถูกตัดให้เป็น version ที่มีความยาวไม่เกิน 1 นาที ซึ่งจะเป็นไฟล์ mp4, avi, mkv, flv, mov, mpg หรือ wmv ก็ได้และให้ส่งมาทั้ง 2 version

( ปล.**ในตัวอย่างจะมีเนื้อเพลงที่เว้นเอาไว้ ในท่อน Verse B นักเรียนสามารถที่จะ

1.แต่งเองทั้งหมดโดยต้องมีคำว่า The Sound of The World ตามตัวอย่างใน Verse B โดยส่งเวอร์ชั่นเต็ม และเวอร์ชั่นที่ตัดในท่อน Verse B ไม่เกิน 1 นาที

2.แต่งใหม่เฉพาะท่อน Verse B ต้องมีคำว่าThe Sound of The World ตามตัวอย่างใน Verse B และส่งเวอร์ชั่นเต็ม และเวอร์ชั่นที่ตัดในท่อน Verse B ไม่เกิน 1 นาที
**แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564 )

      2.2.3 ผู้สมัครกรอกแบบฟอร์มใบสมัครตามที่กำหนด พร้อมทั้งคำบรรยายเนื้อหาและอารมณ์ของเพลงไม่เกิน 50 คำ

2.2.4 น้อง ๆ สามารถเลือกเครื่องดนตรีประเภทไหนก็ได้หรือทำเป็นคอรัสก็ได้ (ซึ่งทางผู้จัดแนะนำให้ใช้ดนตรีพื้นถิ่นด้วยก็จะดีมาก)

2.2.5 เงินรางวัล (ไม่รวมกับรางวัล Futuristic Music Contest) รางวัลที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 รางวัลจะได้บัตรกำนัลสำหรับการซื้อหนังสือ วัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการศึกษาโดยางวัลจะถูกตัดสินจากกรรมการผู้เชี่ยวชาญหรือคณะกรรมการอะคูสติกระหว่างประเทศ

 ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 300 € (ประมาณ 10,948.91 บาท)

ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 2 จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 200 € (ประมาณ 7,299.27 บาท)

ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 3 จะได้รับบัตรกำนัลมูลค่า 100 € (ประมาณ 3,649.64 บาท)

2.2.6 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะและได้รางวัลในการประกวด Futuristic Music Contest

3. การประกวดจะเป็นการประกวดการทำดนตรีแบบครบวงจร ตั้งแต่การเล่นดนตรี การเรียบเรียงดนตรี การบันทึกเสียง การผสมเสียงและการถ่ายทำภาพวิดีโอตัดต่อโดยคุณภาพของเสียงในแต่ละส่วนจะนำมาใช้ในการตัดสินให้คะแนน

4. ประเภทเครื่องดนตรีที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล หรือใช้วัตถุสิ่งของมาเป็นเครื่องประกอบจังหวะหรือเป็นการร้องประสานเสียงก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์

5.การตัดสินจะตัดสินโดยคณะกรรมการที่มีประสบการณ์ในการทำงานในวงการเพลงของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ประกอบด้วย  อาจารย์ติ๊ด โสฬส ปุณกะบุตร นักแต่งเพลงและ Producer มืออาชีพที่ทำเพลงฮิตติดหูเป็นจำนวนมากให้กับ GMM Grammy และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน

6. หมดเขตรับสมัครวันที่ 3 พฤษภาคม 2564

7. ประกาศชื่อผู้เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายของแต่ละประเภทผ่าน Facebook ของวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสมในวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 โดยจะให้คะแนน Popular vote จากยอดที่กดไลค์ (หากพบว่าทุจริต โดยการจ้างวานเพิ่มยอดไลค์ จะตัดสิทธิ์ทันที)

8. การรวมคะแนนจะนับคะแนน Popular vote 20% และคะแนนจากคณะกรรมการ 80%

คะแนนจากกรรมการ 80% มีหัวข้อดังนี้

8.1 ความสามารถเฉพาะตัวโดยรวม

8.2 คะแนนความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี

8.3 คุณภาพการเรียบเรียงเสียงประสานและการบันทึกเสียง (Compose Recording)

8.4 คุณภาพการประสมเสียง (Mixing and Mastering)

8.5 การตัดต่อและบันทึกภาพ ( Video production)

9. ประกาศผลการแข่งขันผ่าน Facebook live วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 หลังจบการแข่งขันวงดนตรีที่เข้ารอบสุดท้ายจะได้รับคอมเมนต์จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวันที่ 30 พฤษภาคม 2564

การประกวดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้คือ

ประเภทที่ 1

            ประเภทวงดนตรี มีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีกติกา ดังนี้

1. ให้สมาชิกวงดนตรีแต่ละคนบันทึกภาพและเสียงการเล่นดนตรีของตนเอง (เสียงและภาพการเล่นดนตรีต้องตรงกันเพื่อการันตีว่าตนเองเป็นผู้เล่นดนตรี)

2. นำเสียงที่บันทึกได้มา Mix รวมกันและปรับแต่งให้มีคุณภาพ (Mixing and Mastering)

3. ตัดต่อวิดีโอคลิป ประกอบด้วยภาพและเสียง

4. Upload คลิปลง Google Drive ตั้งชื่อไฟล์ด้วยชื่อวงพร้อมประเภทที่ลงสมัครแล้วแชร์มาที่ imse.contest@gmail.com

4.1 คลิปโจทย์เพลง Freestyle ความยาวไม่เกิน 5 นาที

4.2 คลิปโจทย์เพลง Sound of the world มีความยาว 3-5 นาที ที่สามารถถูกตัดให้เป็น  version ที่มีความยาว ไม่เกิน 1 นาที และไฟล์ที่ส่งต้องไม่เกิน 5 MB ซึ่งจะเป็นไฟล์ mp4, avi, mkv, flv, mov,mpg หรือ wmv และให้ส่งมาทั้ง 2 version

5. การอัดคลิปและการ Mix ต้องทำที่บ้านของนักดนตรีแต่ละคนเท่านั้น ห้ามรวมตัวกัน (รวมตัวกันได้แต่ต้องเว้นระยะห่าง Social Distancing ตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด ***แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564)

6. ส่งชื่อสมาชิกในวง ชื่อวงดนตรี เบอร์ติดต่อพร้อมบัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียนเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการเข้าประกวด และสำเนาบัตรนักเรียนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ตามแบบฟอร์มใบสมัครที่กำหนด 

ประเภททื่2

ประเภทศิลปินเดี่ยว

1 .ให้ผู้สมัครบันทึกภาพและเสียงการเล่นดนตรีและร้องของตนเอง (เสียงและภาพการเล่นดนตรีต้องตรงกันเพื่อการันตีว่าตนเองเป็นผู้เล่นดนตรี) สามารถบันทึกการเล่นและร้องไปพร้อมกันหรือแยกส่วนกันก็ได้

2. นำเสียงที่บันทึกได้มา Mix รวมกันและปรับแต่งให้มีคุณภาพ (Mixing and Mastering)

3. ตัดต่อเป็นวิดีโอคลิปประกอบด้วยภาพและเสียง

4. Upload คลิปลง Google Drive ตั้งชื่อไฟล์ด้วยชื่อตนเองพร้อมประเภทที่ลงสมัครแล้วแชร์มาที่ imse.contest@gmail.com

4.1 คลิปโจทย์เพลง Freestyle ความยาวไม่เกิน 5 นาที

4.2 คลิปโจทย์เพลง Sound of the world มีความยาว 3-5 นาที ที่ถูกตัดให้เป็น version ที่มีความยาวไม่เกิน 1 นาที และไฟล์ที่ส่งต้องไม่เกิน 5 MB ซึ่งจะเป็นไฟล์ mp4, avi, mkv, flv, mov, mpg หรือ wmv ก็ได้ และให้ส่งมาทั้ง 2 version

5. การอัดคลิปภาพและการบันทึกเสียงทำจากมือถือหรือจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านเท่านั้น!!

6. ส่งชื่อสมาชิกในวง ชื่อวงดนตรี เบอร์ติดต่อพร้อมบัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียนเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการเข้าประกวด และสำเนาบัตรนักเรียนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ตามแบบฟอร์มใบสมัครที่กำหนด 

 เงินรางวัล

 

ประเภทวงดนตรี

1.รางวัลชนะเลิศจำนวน 40,000 บาท

2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 20,000 บาท

3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 10,000 บาท    

ประเภทศิลปินเดี่ยว

1. รางวัลการแสดงดนตรียอดเยี่ยม 20,000 บาท

2. รางวัลการใช้เทคโนโลยีดนตรียอดเยี่ยม 20,000 บาท

รางวัลพิเศษ

1. รางวัลพิเศษ Outstanding ใครดูคลิปนี้แล้วต้องว้าว! (ประเภทเดี่ยวหรือประเภทวงก็ได้) 20,000 บาท

 

ตารางการถ่ายทอด Workshop Online

25 มีนาคม 2564  เวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น. การแต่งทำนองเพลง บันทึกเสียง Mix และ Mastering โดยอาจารย์ติ๊ด โสฬส ปุณกะบุตร 

26 มีนาคม 2564  เวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น.

แต่งเนื้อร้อง โดยศิลปิน, นักร้อง, นักแต่งเพลง ( คุณพีท พีราวัชร์ อัศววชิรวิท  หรือคุณพีท พีชเมกเกอร์)

27 มีนาคม 2564  เวลา 10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น.

Video production แนวคิดการสร้างภาพจากเพลง การบันทึกภาพและการตัดต่อภาพ

( โดยคุณวศิน ปกป้อง ผู้กำกับภาพยนต์เรื่อง สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก )

     ผู้ใดที่พลาดการชมสดสามารถชมเทปบันทึกได้ผ่าน Facebook ของวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม ผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้ร่วมงานกับวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีตรวมถึงสนับสนุนการทำเพลงเป็นของตัวเองถ้างานเพลงมีคุณภาพเหมาะสมตามการพิจาณาของวิทยาลัย ทั้งนี้รายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแต่สถานการณ์ที่สมควร

 

****ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอเป็นสปอนเซอร์ได้ที่ imse.contest@gmail.com **** โทร : 02-329-8197

ตัวอย่างเพลง และโน้ตเพลง

The song “The Sound Of The World” is now available, below. These are the final professional versions.

The Sound Of The World (GUIDE) – final.mp3

This file is a professional version of the song in which the refrain and an example of stanza are played and sung by a band.

The Sound Of The World (End of Stanzas and Refrain) – final.mp3

This file is a professional version of the song in which the refrain and the final verse of the stanzas (“…the sound of the world”) are played and sung by a band.

The Sound Of The World (Minus Voice) – final.mp3
This file is the original version for singing stanzas and refrain. There is no melodic line of lyrics, only background music: The vocals written by students can be added to this track.

The following documents contain music, lyrics and chords of the refrain and of a stanza that has been written as an example for students to guide them in writing their stanzas.

The Sound Of The World – final.pdf
The music sheet in this file represents notes, chords and text of the refrain on the pentagram, so students and teachers can play it.

The Sound Of The World – LYRICS AND CHORDS – final.pdf
This “tablature” version (just lyrics and chords, without solo notes) may be useful for those that want to accompany playing guitar, without knowing how to read the pentagram.

Facebook
Twitter
Skype

CONTACT US

02-329-8197

imse@kmitl.ac.th

Institute of Music Science and Engineering

King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, Chalongkrung Road, Ladkrabang, Bangkok 10520 Thailand

Scroll to Top